AZSUNNAHTHAI  
               AZSUNNAH MADINAH

สถิติ
เปิดเมื่อ3/09/2013
อัพเดท8/09/2017
ผู้เข้าชม20280
แสดงหน้า25472
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




อัซซุนนะฮฺ

อัซซุนนะฮฺ
อ้างอิง อ่าน 304 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
ประวัติความเป็นมาของนิติบัญญัติอิสลาม  เป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาอิสลามให้เกิดความเข้าใจ
อย่างลึกซึ่ง  ความเป็นมานี้  นับแต่เริ่มมีรอซูลท่านสุดท้าย  และการเริ่มลงวะฮีหรือบทบัญญัติต่างๆ
เรื่อยมาจนกระทั้งสิ้นสุดการลงบทบัญญัติ  โดยท่านรอซูลได้จากโลกนี้ไป  ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ต่อการศึกษาอิสลาม  และเหตุการณ์ภายหลังจากที่ท่านรอซูลได้จากไปแล้ว  จวบจนกระทั้งทุกวันนี้
ได้มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นสารพัดอย่างที่ยังผลต่ออิสลาม  ทั้งในทางนิติบัญญัติ การเมือง สังคม
และเศรษฐกิจ  จึงนับได้ว่าสิ่งดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากที่มุสลิมจะต้องรู้  เพื่อจะได้เข้าใจการปฎิบัติ
ของตนเอง  และรักษาศาสนาอันเที่ยงแท้ให้ยั่งยืนสืบไป
เราอาจจะแบ่งนิติบัญญัติของอิสลามออกเป็น 6 ยุคด้วยกันคือ
1 . ยุคที่ท่าน นบี (ศาสนทูต)ยังมีชีวิตอยู่  โดยเริ่มแต่การลงบัญญัติแรกไปจนกระทั้งท่านจากโลกไป
2 . ยุคสาวก(ศอหะบะฮฺ)ผู้อวุโส  อันจะได้แก่ค่อลีฟะฮฺทั้งสี่(คุลาฟะอฺ อุรรอชิดีน)
3 . ยุคสาวกผู้เยาว์  ไปจนกระทั่งปลายศตวรรษที่หนึ่ง  ติดต่อกับต้นศตวรรษที่สองของ ฮ.ศ.
(ฮิจญ์เราะฮฺศักราช)
4 . ยุควิชาฟิกฮฺ(วิชาอธิบายกฎหมาย)  แยกออกเป็นวิชาเอกเทศไปจนถึงปลายศตวรรษที่สามของ ฮ.ศ.
5 . ยุคที่มีการถกเถียงปัญหาฟิกฮฺอย่างแพร่หลาย  แบ่งออกเป็นพรรคหรือเป็นมุจญ์ตะฮิด  ไปจนถึง
การสิ้นอำนาจของตระกูลอับบาสิยะฮฺแห่งกรุงบัฆดาด(แบกแดด)
6 . ยุคของการตักลีดเรื่อยมาจนปัจจุบัน
แต่ละยุคดังกล่าว  ล้วนมีรายละเอียดความเป็นมา  และข้อมูลที่จะต้องศึกษาเพื่อความรู้ความเข้าใจ
อันจะก่อให้เกิดผลดีแก่ทั้งตัวเอง แก่สังคม  และแก่ศาสนาอันเป็นที่รักยิ่งของทุกคนด้วย
นิติบัญญัติอิสลามในสมัยที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ยังมีชีวิตอยู่  แบ่งออกเป็น
2 อย่างคือ
1 . อัล กุรอาน
2 . อัซ ซุนนะฮฺ
' ' อัล กุรอาน ' '
เป็นคัมภีร์ที่อัลลอฮฺ  พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานแก่ท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 
โดยโองการ
แรกทรงประทาน ณ ถ้ำหิรออฺ  ในคืนที่ 27 ของเดือนรอมฎอน  เป็นปีที่อายุของท่าน
นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้ 41 ปี โองการที่ประทานคือ ' อิกเราะอฺ บิสมิร็อบ บิกัล ละซี เคาะลัก'(จนถึง) อัล ละมันอินซา
นะมาลัมยะอฺลัม'
ไปสิ้นสุดการลงบัญญัติเมื่อวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮฺ  ปีที่ 10 แห่งฮิจญ์เราะฮฺศักราช  อายุของท่าน
นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ 63 ปี อายะฮฺหรือโองการหลังที่ลงมาคือ
' อัล เยามะ อักมัล ตุละกุม ดีนะกุม '  วันนี้เราได้ให้ศาสนาของสูเจ้าสมบูรณ์แล้ว '
รวมเวลาทั้งสิ้น 22 ปี 2 เดือน 22 วัน  การที่กุรอานถูกบัญญัติเป็นช่วงๆ  ช่วงละหลายๆโองการบ้าง
  น้อยโองการบ้าง
เป็นเรื่องหนึ่งที่พวกมุชริกีนโจมตี
พวกปฎิเสธพูดว่า ' ควรลงกุรอานมาทีเดียว  ให้แก่ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม '
อัลลอฮฺตรัสว่า ' ที่เป็นเช่นนั้น  เพื่อให้ให้มันมั่นอยู่ในใจของสูเจ้า  แล้วเราก็ได้ให้เขาได้อ่านสม่ำเสมอ '
มีรายงานว่า  เมื่อท่านอิบนุอับบาส  อ่านบัญญัติที่ว่า  'อัลเยามะ....'มียิวคนหนึ่งได้ยินเข้า  เขาก็
พูดขึ้นมาทันที่ว่า
'ถ้าเป็นพวกยิวละก็  เราจะถือวันนี้เป็นวันตรุษแน่ๆ'
ท่านอิบนุอับบาสจึงตอบไปว่า
' ถูกแล้วอายะฮฺ(โองการ)นี้ลงมาในวันที่มีความสำคัญสองอย่างคือ  เป็นทั้งวันศุกร์และ
วันอะเราะฟะฮฺ'โองการของ อัลกุรอานทั้งหมดแบ่งออกเป็น 2 สมัยด้วยกันคือ
1 . สมัยที่ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ยังอยู่ที่มักกะฮฺเรียกว่า อายะฮฺ 'มักกียะฮฺ'
2 . สมัยที่ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  มาอยู่มะดีนะฮฺเรียกว่า  อายะฮฺ 'มะดะนียะฮฺ'
กุรอานมี 114 ซูเราะฮฺ(บท)  แบ่งออกเป็น 30 ญุซอฺ(ภาค)  เริ่มด้วยซูเราะฮฺ 'อัลฟาติฮะฮฺ'
(คือ อัลฮัมดุลิลลาฮิร็อบ
บิลอาละมีน)  จบด้วยซูเราะฮฺ 'อันนาส' (คือ กุลอะอูซุบิ ร็อบบิลนาส)
ซูเราะฮฺในสมัยที่ 1 (อายะฮฺมักกียะฮฺ)  คิดเป็นเศษส่วน หรือ 19 ใน 30 ภาค
ซูเราะฮฺในสมัยที่ 2 (อายะฮฺมะดะนียะฮฺ) คิดเป็นเศษส่วน หรือ 11 ใน 30 ภาค
ซูเราะฮฺมะดะนียะฮฺ มี 23 ซูเราะฮฺ  คือ
1 อัล บะเกาะเราะฮฺ   2 อาลิอิมรอน   3 อัน นิสาอฺ   4 อัลมาอิดะฮฺ   5 อัล อัมฟาล   6 อัต เตาบะฮฺ 
  7 อัล ฮัจญ์
8 อัน นูร   9อัล อะฮฺซาบ   10 อัล กิตาล(มุฮัมมัด)   11 อัล ฟัตฮุ   12อัล ฮะดีษ   13 อัล หุญุร็อต
14 อัล มุญาดะละฮฺ   15 อัล ฮัจญ์รฺ   16 อัล มุมตะหินะฮฺ   17 อัศ ศ็อฟ   18 อัล ญุมอะฮฺ  
19 อัล มุนาฟิกูน20 อัล ตะฆอบุน   21 อัฎ เฎาะลากฺ   22 อัล ตะฮฺรีม   23 อัน นัศรฺ
(อิซายา อะนัศรุลลอฮิวัลฟัจญ์รุ)
ที่เหลือนั้นเป็นซูเราะฮฺมักกียะฮฺทั้งหมด
รวมระยะเวลาที่ลงบัญญัติมักกียะฮฺ 12 ปี 5 เดือน 13 วัน  ส่วนระยะเวลาลงบัญญัติ 
มะดะนิยะฮฺรวม 9 ปี 9 เดือน 9 วัน
เมื่อท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้รับโองการอัล กุรอาน  ท่านได้ศึกษาหาความเข้า
ใจท่องจำและนำมาประกาศเผยแผ่หรือสอน  จากนั้นท่านก็สั่งให้สาวกจดบันทึกลงบนวัสดุพอที่
จะหาได้ในยุคนั้น
มีทั้งกาบอินทผาลัม แผ่นศิลา แผ่นหนัง แผ่นกระดูก  และฯลฯ
ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นอาลักษณ์บันทึกโองการของอัล กุรอานตามคำสั่งของท่าน
นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
มี 16 ท่านด้วยกัน(ตามรายงานบางกระแส)อันได้แก่  ท่านคอลีฟะฮฺทั้ง 4 (อบูบัก . อุมัร . อุษมาน
. อาลี )อามิร อุบัยยฺ ษาบิต ซัยตฺ มุอาวียะฮฺ อัลมุฆีเราะฮฺ อัซซุบัยรฺ คอลิด อัลอะลาอฺ
อัมรฺ อับดุลลอฮฺ อิบนุลฮัฎรอมี
และมุฮัมมัด บิมัสละมะฮฺ  แต่รายงานบางกระแสว่ามีคนอื่นนอกจากนี้อีก
การเรียงลำดับซูเราะฮฺ(บทต่างๆ)  ของอัล กุรอาน เป็นคำสั่งของท่าน
นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ตลอดชีวิตของท่านนั้น  กุรอานยังมิได้ถูกรวบรวมเข้าเป็นเล่มเดียวกัน  แต่มีสาวกจำนวน
มากที่ท่องจำขึ้นใจได้ทั้งหมด(ทั้ง 114 ซูเราะฮฺ)  เช่น  อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด  สาลิม บิน มะอฺกิล 
มุอาช  อุบัย  ซัยดฺ
(เซท)  อบุด ดัรดาอฺ และฯลฯ เป็นต้น
' ' ' อัล กุรอานบัญญัติลงมาอย่างไร ' ' '
บัญญัติกุรอาน  ซึ่งใช้เป็นตัวบทบังคับในการปฎิบัติ  หรือควบคุมการกระทำต่างๆของ
มนุษย์เรานั้นส่วนมากมีบัญญัติลงมาในรูปของการตอบปัญหา  แก้ข้อสงสัยในเหตุการณ์ที่มีขึ้น 
ซึ่งรู้จักกันในวงการ
วิชาการว่า ' อัสบาบุลนุซูล '  คือ ' สาเหตุแห่งการลงบัญญัติ '  นั่นเอง  แต่มีบทบัญญัติ
ไม่น้อยเหมือนกันที่บัญญัติลงมาโดยตรง  ไม่ต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์  หรือไม่ต้องรอให้เกิด
ปัญหาขึ้นมาเสียก่อน  แต่บางครั้ง
ก็อาจจะมีบัญญัติลงมาเมื่อบรรดามุอฺมิน(ผู้ศรัทธา)มีปัญหาเกี่ยวกับตัวเอง  แล้วนำ
ไปสอบถามกับท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
' ' ตัวอย่าง ' '
เช่นที่คราวที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ส่งท่านมุรษิต  อัล เฆาะนาวีไปมักกะฮฺ 
เพื่อทำหน้าที่
หาทางนำเอาพี่น้องมุสลิมที่อ่อนแอซึ่งยังตกค้างอยู่ในมักกะฮฺ  อพยพออกไปมะดีนะฮฺ 
เมื่อท่านมุรษิตไปถึงมักกะฮฺแล้ว  บังเอิญไปพบกันกับหญิงมุชริกคนหนึ่ง  ทั้งสวย ทั้งรวย 
ทีแรกท่านมุรษิตไม่ยอมเกี่ยวข้อง
ด้วยเพราะเกรงกลัวอัลลอฮฺ  แต่ต่อมา  ฝ่ายหยิงพยายามติดต่อขอสมรสด้วย  ท่านมุรษิต
จึงตกลงแต่มีเงื่อนไขว่า  ต้องให้ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เห็นชอบด้วย 
ท่านจึงตกลง  เมื่อท่านมุรษิต
เดินทางกลับมะดีนะฮฺก็ได้นำเรื่องนี้มาหารือ  ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 
เพื่อขอสมรสกับหญิงมุชริกผู้นั้น  คำตอบของท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ก็คือ
  บัญญัติที่ท่านได้รับจากอัลลอฮฺ
ซึ่งประทานลงมาเพราะเรื่องนี้  ดังปรากฎอยู่ในซูเราะฮฺ  อัล บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ ที่ 221 ว่า
' ' ' สูเจ้าอย่าสมรสกับหญิงมุชริกเป็นอันขาด  จนกว่าพวกเธอจะมีศรัทธาและ(การสมรสกับ)
ทาสหญิงที่ศรัทธานั้นดีกว่าหญิงมุชริก  แม้ว่าเธอ(หญิงมุชริก)จะเป็นที่พึงใจของเจ้าก็ตาม
และสูเจ้าจงอย่าสมรสให้กับชายมุชริกเป็นอันขาด  จนกว่าพวกเขาจะศรัทธา 
และบ่าวที่มีศรัทธานั้นย่อมดีกว่าชายมุชริก  แม้เขา(ชายมุชริก)จะเป็นที่พึงใจของสูเจ้าก็ตาม 
พวกดังกล่าวเรียกร้อง
ไปสู่นรก  ส่วนอัลลอฮฺเรียกร้องไปสู่สวรรค์  และการอภัยโดยอนุมัติของพระองค์
กับทรงแจกแจงบัญญัติของพระองค์แก่คนทั้งหลาย  เพื่อพวกเขาจะได้ใช้ปัญญา ' ' '
นี่เป็นตัวอย่างของการลงบัญญัติให้มา  เนื่องจากมีปัญหาที่มุสลิมยิบยกขึ้นมาถาม 
บางครั้งก็มาจากมุอฺมินเอง  และบางครั้งก็มาจากผู้อื่นก็มี  เช่นปรากฎเป็นโองการอยู่ใน
ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ
ที่219 ว่า ' ' ' พวกเขาจะถามเจ้า(มุฮัมมัด)เกี่ยวกับสิ่งเมาและการพนัน  ก็จงตอบไปว่า
ทั้งสองอย่างมีโทษมหันต์  และมีคุณแก่คนทั้งหลายด้วยเหมือนกัน  แต่โทษของมันมีมากกว่าคุณ
พวกเขาจะถามเจ้า(มุฮัมมัด)เกี่ยวกับว่า  จะเสียสละอะไรดี  จงตอบไปว่าการให้อภัย(เป็นดีที่สุด)
220 ว่า  ' ' ' พวกเขาจะถามเจ้า(มุฮัมมัด)เกี่ยวกับเด็กกำพร้า  จงตอบไปว่า  ให้ปรับปรุงกิจการ
เพื่อให้เป็นผลดีแก่เขา  นั่นเป็นการดียิ่ง ' ' '
222 ว่า ' ' ' พวกเขาจะถามเจ้า(มุฮัมมัด)เกี่ยวกับเรื่องประจำเดือน(ของสตรี)  เจ้าจงตอบไปว่า
มันเป็นสิ่งสกปรก  ดังนั้น  จงห่างไกลภริยาในขณะ(เธอ)มีรอบเดือน ' ' '
227 ว่า ' ' ' พวกเขาจะถามเจ้า(มุฮัมมัด)เกี่ยวกับการฆ่ากันในระหว่างเดือนที่ต้องห้าม(มีอยู่
4 เดือนคือ  เราะญับ  ซุลเกาะอฺดะฮฺ  ซุลฮิจญะฮฺ  และมุฮัรรอม)  เจ้าจงตอบไปว่า  การฆ่ากัน
ในเดือนดังกล่าว
เป็นบาปมหันต์  อีกทั้งการกีดกันในหนทางของอัลลอฮฺ  การปฎิเสธอัลลอฮฺขัดขวางผู้อื่น
ไม่ให้เข้ามัสยิดหะรอม  และขับไล่ชาวมักกะฮฺออกจากถิ่นฐานของเขา  ย่อมเป็นบาปยิ่งกว่า
ณ อัลลอฮฺและการทรยศต่ออัลลอฮฺนั้น  ยิ่งบาปมากกว่าการต่อสู้ ' ' '
ในคัมภีร์ยังมีบัญญัติลงมาเพราะมีเหตุการณ์  หรือมีปัญหานั้นยังมีอีกไม่น้อย
มีข้อสังเกตุเหมือนกันว่า  บทหรือซูเราะฮฺต่างๆที่ลงมา ณ นครมักกะฮฺนั้นมักจะไม่ยาก 
ไม่มากโองการเนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติรายละเอียดในด้านศาสนกิจ  ต่างกับบทที่ลงมา
ณ มะดีนะฮฺ  ซึ่งมักจะมี
โองการมาก  เพราะมีรายละเอียดมากขึ้น  มีคำสั่งในการปฎิบัติมากขึ้นนั่นเอง
เนื้อหาของ อัล กุรอาน  อาจสรุปได้เป็น 3 อย่างด้วยกัน  คือ
ก . บัญญัติเกี่ยวกับการอีมาน(ศรัทธา)  ในอัลลอฮฺ มลาอิกะฮฺ บรรดาคัมภีร์ บรรดารอซูล 
และวันสุดท้ายเรื่องราวดังกล่าวนี้  ได้มีการรวบรวมเป็นวิชาหนึ่ง  เรียกกันว่า  'อุศูลุดดีน' 
หรือ ' อิลมุลกะลาม '
ข . บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องจิตใจ  อารมณ์  ความรู้สึก  ตลอดจนการชักจูงให้มีจรรยาธรรมสูง
วิชานี้ก็เป็นวิชาหนึ่งต่างหาก  เรียกว่า  ' อิลมุล อัคลาก'  หรือ  ' ศิลธรรม '
ค . บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำภายนอกว่า  ห้ามอะไร  สั่งให้ทำอะไร  อะไรถูก ผิด  อย่างไร
นี่เป็นเรื่องราวที่เป็นวิชา  ' ฟิกฮฺ ' นั่นเอง
' ' หลักเกณฆ์กับการตราบทบัญญัตต่างๆ ' '
อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ทรงเผยให้เห็นหลัก 3 ประการในการบัญญัติหลักการอิสลาม 
คือ
1 . ไม่ให้ลำบาก เช่น
' ' ' อัลลอฮฺไม่ทรงบังคับใคร  นอกจากให้เป็นไปตามความสามารถของเขา ' ' บะเกาะเราะฮฺ ที่ 286
' ' ' อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความง่าย  ไม่ประสงค์ความลำบากแก่สูเจ้า ' ' บะเกาะเราะฮฺ ที่ 185
' ' ไม่ว่าเรื่องใดที่ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีโอกาสเลือกแล้ว  ท่านจะเลือกสิ่ง
ที่ง่ายที่สุดถ้าสิ่งนั้นไม่ผิดบัญญัติ (หะดีษ )
2 . ไม่มาก เช่น
' ' ต้องทำฮัจญ์ทุกปีใหม่  ถ้า นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ตอบว่า ทุกปี  ก็จะเป็นฟัรฎูทุกปี  ดังนั้น
อย่าได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว  ในสิ่งที่ฉันปล่อยไว้ ( หะดีษมุสลิม)
' ' บริจาคซะกาตเงินทอง การค้า ปีละครั้ง ' '
' ' ถือศิล อดฟัรฎูปีละครั้ง  ครั้งละหนึ่งเดือน  ในเดือนรอมฎอน ' '
3 . ให้เป็นที่ละขั้น เช่น
เรื่องน้ำเมา  ระยะแรกกุรอานระบุว่า  มีโทษมากกว่าคุณ  ระยะสองบอกว่า  อย่าเมาเหล้าเข้าไปนมาช
จนกว่าจะสร่างเมา  และรู้เรื่องดีว่าที่พูดไป อ่านไปนั้นถูกหรือผิด  ระยะที่สาม  มีบัญญัติห้ามเด็ดขาด
ไม่ให้แตะต้องของมึนเมาไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม  ทั้ง 3 ระยะดังกล่าวมานั้นมีระยะเวลาห่างกันพอ
ที่จะให้ผู้ปฎิบัติไม่กระทบกระเทือนที่จะปฎิบัตินัก
หลักเกณฆ์ทั้ง 3 ข้อดังกล่าวนี้  เป็นแนวทางสอนให้เราตระหนักว่า  พึงยึดถือปฎิบัติในการบริหาร
งานต่างๆข้อบัญญัติใน อัล กุรอาน อาจแบ่งออกเป็น 2 หมวด  คือ
1 . เรื่องอิบาดะฮฺ เช่น ละหมาด ซะกาต ฮัจญ์ และการถือศิลอด
2 . เรื่องมุอามะลาต(สังคม ปกครอง)  มีอยู่ 4 แผนกด้วยกัน  คือ
1 . บัญญัติเกี่ยวกับการค้ำประกันการเผยแผ่  เรียกว่า ' ญิฮาด '
2 . บัญญัติเกี่ยวกับครอบครัว เช่น สมรส หย่าร้าง มรดก การสืบสกุล
3 . บัญญัติเกี่ยวกับการติดต่อ มีความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น  การซื้อขาย จำนำ ว่าจ้าง หยิบยืม
ทำสัญญานิติกรรม
4 . บัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษ เช่น โทษฐานขโมย ปล้นสะดม ผิดประเวณี  เป็นต้น
 
' ' ซุนนะฮฺ ' '
คือคำพูดหรือการกระทำ  หรือการยอมรับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ทั้งนี้โดยนัยที่ว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เป็นผู้เผยแผ่คำพูดของท่านเกี่ยวกับ
การปฎิบัตินั้นย่อมเป็นวะฮียฺจากอัลลอฮฺ  ทุกอย่างที่ท่านนำมาต้องยึดถือปฎิบัติ  สิ่งใดที่ท่าน
ห้ามต้องงดสรุปก็คือ  ซุนนะฮฺเป็นบทขยายความในอัลกุรอาน  บอกรายละเอียดหรือวาง
หลักให้ใช้เปรียบเทียบ
ข้อปลีกย่อยกับกฎเกณฆ์ที่เป็นหลักใหญ่ในกุรอาน เช่น
ก . อัลลอฮฺทรงให้อนุญาตให้บริโภคของดี  ห้ามของไม่ดี  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
  ก็อธิบายว่า  สัตว์ป่า สัตว์ดุร้าย  ที่มีเขี้ยวเป็นอาวุธจับสัตว์ก็ดี  หรือสัตว์ปีกที่มีกรงเล็บ 
อุ้งเท้าจับเหยื่อก็ดีห้ามบริโภค  อีกทั้งเนื้อลาก็ห้าม  ซึ่งทั้งหมดนี้เข้าอยู่ภายใต้คำบัญชาของ
กุรอานที่ว่า 'อัลเคาะบาอิษ' ของไม่ดี
ข . มีบัญญัติอนุญาตดื่ม  เครื่องดื่มที่ไม่ทำให้มึนเมา  แต่มีเครื่องดื่มบางชนิดที่ไม่ใช่ของมึนเมา
ที่แท้จริงแต่มันก็ทำให้มึนได้  เช่น นะบีซ  หรือน้ำองุ่นแช่  แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
  ก็ได้บอกห้ามดื่ม
เพื่อป้องกันมิให้ล่วงเลยไปสู่ของมึนเมา  โดยท่านผนวกเข้ากับสิ่งที่ทำให้มึนเมา  และถือเป็น
ของหะรอม(ต้องห้าม)  ด้วยในปัจจุบันนี้ก็อาจได้กับเบียร์ทั้งหลายนั่นเอง
ค . อัลลอฮฺทรงห้ามกินดอกเบี้ย  ดอกเบี้ยในสมัยญาฮิลิยะฮฺทุกประเภท  'ดอกทบเท่าทวีคูณ'
ท่านจึงระบุว่า  'ดอกเบี้ยสมัยญาฮิลิยะฮฺถูกยกเลิก'  ทั้งนี้  เพราะดอกเบี้ยหรือส่วนที่เกินมา
นั้นได้มาโดยไม่มีสิ่งแลกเปลี่ยน  จึงถือเป็นสิ่งหะรอม  ด้วยเหตุนี้จึงมีหะดีษที่ว่า
' ทองกับทอง เงินกับเงิน ข้าวกับข้าว อินทผาลัมกับอินทผาลัม เกลือกับเกลือ(แลกเปลี่ยนกัน)
ต้องมีจำนวนเท่ากัน ทำต่อหน้ากัน  ผู้ใดเพิ่มหรือขอเพิ่ม  แท้จริง  เขาเอาดอกเบี้ย'

จากตัวอย่างเพียงเล็กน้อยนี้  จะเห็นว่าบทบาทของซุนนะฮฺก็คือ  เป็นบทขยายความหรือให้รายละเอียด
แก่หลักการในบทบัญญัติกุรอานอีกทีหนึ่งนั่นเอง  ดังนั้นซุนนะฮฺกับกุรอานจึงมีความผูกพันกันอ
ย่างใกล้ชิดซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นศอฮาบะฮฺเป็นผู้ได้รับมา 
ซึ่งบางเรื่องก็มีสาวกเป็นจำนวน
มากรู้กันอย่างแพร่หลาย  แต่บางเรื่องก็มีเพียงไม่กี่คนที่ได้มีโอกาสรับรู้
สรุปความว่า  ในยุคแรกนี้ตัวบทบัญญัติของอิสลามก็มี
1 . กุรอาน  เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ 'หุกุม'  นั้นมีอยู่ประมาณ200อายะฮฺ  จากทั้งหมด6พัน
กว่าอายะฮฺ
2 . ซุนนะฮฺ  ซึ่งเป็นบทขยายรายละเอียดในบัญญัติกุรอาน  และศอหะบะฮฺเป็นผู้จดจำ 
และได้ถ่ายทอดไปยังบุคคลรุ่นหลังอีกทอดหนึ่ง  ซึ่งจะได้นำตัวอย่างบัญญัติกุรอานพร้อม
ทั้งมีซุนนะฮฺมาขยายเสนอต่อไป
' อัศ เศาะลาฮฺ '
อัศ เศาะลาฮฺ  หรือละหมาดนั้นเอง  คำว่า เศาะลาฮฺ  ตามศัพท์แปลว่า 'การขอพร' หรือ
ดุอาอฮฺ  กล่าวกันว่าในระยะเริ่มแรกนั้นมีบัญญัติให้ดำรงนมาชเพียง 2 ร๊อกอะฮฺวันละ 2
เวลาคือ' เจ้าจงสดุดีและสรรเสริญพระเจ้าของท่านทุกค่ำ เช้า ' (ฆิฟิร ที่55)
ในอัลกุรอาน  ได้ระบุเวลาโดยใช้คำกว้างๆในซูเราะฮฺ อัร รูม อายะฮฺที่17 ว่า
'จงสดุดีอัลลอฮฺ  ยามเย็นและยามเช้า  การสรรเสริญทั้งในฟ้าและแผ่นดินเป็นของพระองค์
และยามค่ำและยามบ่าย'
ปรากฎในซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่238ว่า
'จงเคร่งครัดต่อการนมาชต่างๆ  ตลอดจนนมาชอัศรฺ'
'วิธีนมาช'
เกี่ยวกับวิธีนมาช  กุรอานระบุไว้ในซูเราะฮฺ อัล หัจญ์  อายะฮฺที่77ว่า
' ศรัทธาชนทั้งหลาย จงโค้ง(รุกูอฺ)  และกราบ(สุญูด) เถิด'
ในกุรอานมีหลักกว้างๆไว้ดังที่กล่าวมาเท่านั้น  ส่วนวิธีปฎิบัตินมาชที่สมบูรณ์พร้อมรายละเอียด
ปลีกย่อยนั้นท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้สอนให้ แนะนำให้  พร้อมได้ปฎิบัติ
นมาชให้เป็นแบบฉบับด้วย
ยิ่งกว่านั้นท่านยังได้กล่าวว่า  'ท่านทั้งหลาย จงนมาชเหมือนที่ท่านเห็นฉันนมาช'
' วันศุกร์ '
กุรอานได้ระบุเรื่องนมาชวันศุกร์ไว้ในซูเราะฮฺญุมุอะฮฺ ว่า
' ศรัทธาชนทั้งหลาย  เมื่อเขาเรียกเพื่อนมาชวันศุกร์  ก็ให้สูเจ้าไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ 
และจงระงับการซื้อขายเสีย '
ส่วนวิธีปฎิบัตินมาชญุมุอะฮฺ  ก็ได้หะดีษของท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  มาอธิบาย
รายละเอียดให้ทราบ
อีกทีหนึ่ง
' อัฎ เฎาะฮาเราะฮฺ '
เฎาะฮาเราะฮฺ หรือ ความสะอาด  อัลกุรอานได้ระบุไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อการทำนมาชในซูเราะฮฺ
อัล มาอิดะฮฺ ที่7ว่า
' ศรัทธาชนทั้งหลาย  ถ้าสูเจ้าจะปฎิบัตินมาช  ก็จงล้างหน้าของสูเจ้า  ล้างมือถึงข้อศอก 
จงลูบศีรษะของสูเจ้า
และจงล้างเท้าของสูเจ้าจนถึงตาตุ่ม '
ในกรณีที่ไม่มีน้ำ  เพราะหาน้ำไม่ได้หรือใช้น้ำไม่ได้ก็ตาม  ก็ให้ใช้วิธี 'ตะยัมมุม'  กุรอานใน
ซูเราะฮฺ อัน นิสาอฺระบุว่า
' เมื่อหาน้ำไม่ได้ก็ให้ใช้ตะยัมมุม(ใช้ฝุ่นดิน)  เป็นดินที่สะอาด  จงลูบหน้าของสูเจ้าและมือของสูเจ้า
'(อัน นิสาอฺ ที่42)
วิธีทำวุฎูอ(อาบน้ำนมาช)ก็ดี  การทำตะยัมมุมก็ดี  ได้มีหะดีษมาขยายการปฎิบัติโดยละเอียด
ทั้งหะดีษที่เป็นคำพูดและหะดีษที่เป็นการกระทำของท่าน นบี   ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
' การสวมเครื่องนุ่งห่ม '
กุรอานได้ระบุให้สวมเสื้อผ้าเพื่อจะปฎิบัตินมาช  ดังที่ปรากฎในอายะฮฺที่30 ของซูเราะฮฺ
อัล อะอฺร็อฟ ว่า
' ลูกหลานอาดัม(มนุษย์)ทั้งหลาย  จงแต่งตัวของสูเจ้า  เมื่อจะปฎิบัตินมาชทุกครั้ง '
การใช้เครื่องนุ่งห่มปกปิด เอาเราะฮฺ นี้  ได้มีหะดีษสอนให้กระทำว่า  ชายปกปิดอย่างไร 
หญิงจะปกปิดอย่างไร
' ขณะนมาชให้หันหน้าสู่กิบละฮฺ'
กุรอานบอกเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ ที่150ว่า
' (ในการนมาช)สูเจ้าจงหันหน้ายังมัสยิดหะรอม  และไม่ว่าสูเจ้าอยู่ที่ใด  ก็จงหันหน้าของสูเจ้า
ไปยังทิศทางของมัสยิดนี้ '
นอกจากนี้  ยังมีนมาชซุนนะฮฺต่างๆอีกมากมาย  ซึ่งพวกเราได้ทราบจากหะดีษของ
ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ทั้งกำหนดเวลาปฎิบัติ  วิธีปฎิบัติ  ตลอดจนรุกุ่น ชะรัตต่างๆของการนมาช  ซุนนะฮฺดังกล่าว
อย่างครบถ้วนรวมทั้งนมาชอีดทั้งสอง  คือ อีดิลฟิฎรฺ  และอีดุลอัฎฮา
 

 
 
zunman [110.169.243.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :