AZSUNNAHTHAI  
               AZSUNNAH MADINAH

สถิติ
เปิดเมื่อ3/09/2013
อัพเดท8/09/2017
ผู้เข้าชม20279
แสดงหน้า25471
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ

การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ
อ้างอิง อ่าน 460 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง
' ' เตาหี๊ด ' ' '
(การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ)
เตาหี๊ด  ในด้านภาษานั้นเป็นคำที่แยกมาจาก  วะห์ด่ะ ยุวะห์หิดุ่  แปลว่า  ทำให้เป็นหนึ่งเดียว
และในด้านบัญญัติ(ชัรอ์)นั้นคือ  การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
ในสิ่งที่เป็นของพระองค์โดยเฉพาะ  จากการเป็นพระผู้เป็นเจ้า  การเคารพ ภักดี พระนาม
และลักษณะต่างๆของพระองค์
เตาหี๊ดแบ่งออกเป็นสามชนิด
1 . เตาหี๊ดว่าด้วยเรื่องของการเป็นพระผู้เป็นเจ้า (รู่บูบียะฮฺ)
2 . เตาหี๊ดว่าด้วยเรื่องของการเคารพภักดี (อุลูฮียะฮฺ)
3 . เตาหี๊ดว่าด้วยเรื่องของพระนามและลักษณะต่างๆของพระองค์
เตาหี๊ดรู่บูบียะฮฺนั้นคือ  การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลฺ  ในเรื่องของการสร้าง
การครอบครอง  และการบริหาร
การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ  ในเรื่องของการสร้างนั้น  ก็คือ  การที่มนุษย์เชื่อมั่นว่าไม่มีผู้สร้างใดๆ
นอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น  พระองค์ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
' ' จงรู้ไว้เถิดว่า  การสร้างและการบัญชานั้น  เป็นของพระองค์ ' ' (อัลอะอฺร้อฟ ที่54)
' ' มีผู้สร้างนอกเหนือจากอัลลฮฺ  ที่พระองค์ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่พวกเจ้า  จากฟากฟ้า
และแผ่นดินอีกหรือ ' ' (ฟาฎิร ที่3)
' ' ทรงจำเริญยิ่ง อัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างที่ดีที่สุด ' ' (อัลมุอฺมินูน ที่14)
การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ  ในเรื่องของการครอบครองนั้นคือ  การที่เราเชื่อมั่นว่าไม่มีใครครอบครอง
บวงบ่าวได้  นอกจากผู้ทรงสร้างพวกเขามาเท่านั้น  เหมือนกับที่พระองค์ ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
' ' และการครอบครองชั้นฟ้าต่างๆ   และแผ่นดินนั้น  เป็นของอัลลอฮฺ ' ' (อาลาอิมรอน ที่189)
' ' จงกล่าวเถิดว่าใครที่อำนาจยิ่งใหญ่ของทุกสิ่งอย่างในมือของเขา ' ' (อัลมุอฺมินูน ที่88)
และการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ  ในเรื่องของการบริหารนั้นคือ  การที่มนุษย์เชื่อมั่นว่า
ไม่มีผู้บริหารใดๆ  นอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น  และการให้เอกภาพในชนิดนี้พวกผู้ตั้งภาคี
ที่ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ถูกส่งมายังพวกเขานั้น  พวกเขามิได้คัดค้าน
แต่ประการใด  หากแต่พวกเขายอมรับด้วยดี
พระองค์ตะอาลาได้ตรัสว่า
' ' และหากเจ้าได้ถามพวกเขาว่า  ใครสร้างชั้นฟ้าต่างๆและพื้นแผ่นดิน  พวกเขาก็
จะกล่าวว่า  ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรู้ยิ่ง ' ' (อัซซุครุฟ ที่9)
เตาหี๊ดอุลูฮียะฮฺนั้น  คือการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล  ในเรื่องของการเคารพภักดี
ผู้ที่สมควรได้รับการเคารพภักดีนั้นคือ  อัลลอฮฺตะอาลา  พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
' ' ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า  พระองค์นั้นคือ  ความจริงและว่าสิ่งที่พวกเขาวิงวอนนอกเหนือจาก
พระองค์นั้นคือ  สิ่งที่เป็นเท็จ ' ' (ลุกมาน ที่30)
' ' และเจ้าจงอย่าให้มีขึ้นกับอัลลอฮฺซึ่ง  พระเจ้าองค์อื่น  แล้วเจ้าก็จะนั่งอย่างผู้ถูกตำหนิ
ผู้ถูกทอดทิ้ง ' ' (อัลอิสร้ออฺ ที่22)
' ' การสรรเสริญนั้น  เป็นของอัลลอฮฺ  พระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลโลก ' ' (อัลฟาติฮะฮฺ ที่2)
' ' โอ้ ผู้คนทั้งหลาย  พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า  ที่พระองค์ได้ทรงสร้าง
พวกเจ้า  พวกผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเจ้าขึ้นมา (อัลบะเกาะเราะฮฺ ที่21)
การให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ  ในเรื่องพระนามและลักษณะต่างๆของพระองค์  ซึ่งมันก็ประมวลไว้สอง
อย่างด้วยกัน  คือ
(1) การยอมรับคือ  ยอมรับว่า  อัลลอฮฺอัซซะวะญัลลฺนั้น  มีพระนาม  และลักษณะต่างๆของพระองค์
ทั้งหมด
(2) การปฎิเสธความเหมือน  คือว่า  เราจะไม่ทำให้มีสิ่งเสมอเหมือนเกิดขึ้นกับพระองค์  ในพระนาม
และลักษณะต่างๆของพระองค์  เหมือนกับที่พระองค์ตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
' ' ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์  และพระองค์นั้น  คือ  ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็นอยู่ตลอด
' ' (อัชชูรอ ที่11)
' ' ผู้ทรงกรุณาปราณี  สถิตอยู่บนบัลลังก์ ' ' (ฎอฮา ที่5)
' ' และฉันไม่ได้สร้างญิณ  และมนุษย์ขึ้นมา  นอกจากให้พวกเขาเคารพภักดีต่อฉันเท่านั้น ' '
(อัซซาริย้าด ที่56)
' ' และแน่นอนยิ่งเรา(อัลลอฮฺ)  ได้ส่งมาในทุกประชาชาติซึ่งทูต(รอซูล)  ท่านหนึ่งโดยมีการสั่งใช้ว่า
พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ  และจงออกห่างมารร้าย ' ' (อันนะหล์ ที่36)
' ' และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้าทรงใช้ไม่ให้พวกเจ้าเคารพภักดี  นอกจากเฉพาะพระองค์เท่านั้น  และ
ปฎิบัติต่อพ่อแม่  หากคนหนึ่งคนใดจากเขาทั้งสองได้เข้าสู่วัยชรา  หรือทั้งสองคนเลย  ในขณะที่
อยู่กับเจ้า  เจ้าก็อย่าได้กล่าวแก่เขาทั้งสองด้วยคำว่า  (อุ๊ฟ)  อย่าตะคอกเขาทั้งสอง  และจงกล่าว
แก่เขาทั้งสองด้วยคำกล่าวที่ดีจงลดปีกแห่งความนอบน้อม  จากความเมตตาแก่เขาทั้งสอง 
และจงกล่าวว่า โอ้  พระผู้เป็นเจ้าของฉัน
ขอพระองค์ได้ทรงเมตตาเขาทั้งสองเหมือนกับที่เขาทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันมา  ในขณะที่ยังเล็กอยู่ '
' (อัลอิสรออฺ ที่23ถึง24)
' และพวกเจ้าจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ  และอย่าได้ตั้งภาคีต่อพระองค์แต่ประการใด ' '
(อันนิซาอฺ ที่36)
' ' จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า  พวกเจ้าจงมาซิ  ฉันจะอ่านสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าได้ทรงห้าม
พวกเจ้าไว้ให้ฟังคือ  ไม่ให้พวกเจ้าตั้งภาคีต่อพระองค์แต่อย่างใด  ให้พวกเจ้าทำความดีต่อพ่อแม่
ทั้งสองไม่ให้พวกเจ้าฆ่าลูกของพวกเจ้า  อันเนื่องมาจากความกลัวความยากจน  เรา(อัลลอฮฺ)
เป็นผู้ให้ปัจจัยยังชีพ(ริชก์)แก่พวกเจ้า  ไม่ให้พวกเจ้าเข้าใกล้สิ่งชั่วช้าสามานย์ต่างๆ  ทั้งที่เห็นได้
  และเห็นไม่ได้ไม่ให้พวกเจ้าฆ่าชีวิตหนึ่งชีวิตใด  ที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้  นอกจากด้วยความชอบ
ธรรมเท่านั้นที่ได้กล่าวมานี้  อัลลอฮฺได้สั่งสำทับพวกเจ้าไว้  หวังว่าพวกเจ้าจะใช้สติปัญญานึกคิด
  และไม่ให้พวกเจ้าเข้าใกล้ทรัพย์สินของเด็กกำพร้า  นอกจากด้วยหนทางที่ดีที่สุดเท่านั้น 
จนกว่าเขาจะเติบใหญ่เต็มที่เสียก่อน
พวกเจ้าจงตวงวัดให้ครบถ้วนสมบูรณ์  ด้วยความเที่ยงตรง  เรา(อัลลอฮฺ)ไม่ได้บังคับชีวิตหนึ่ง
ชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น  เมื่อพวกเจ้าพูดพวกเจ้าก็จงให้มีความยุติธรรม
ถึงแม้จะเป็นญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดก็ตาม  และต่อสัญญาอัลลอฮฺ  พวกเจ้าจงประพฤติปฎิบัติให้
ครบถ้วนที่ได้กล่าวมานี้  อัลลอฮฺได้ทรงสั่งสำทับพวกเจ้าไว้  หวังว่าพวกเจ้าจะรำลึกได้และ
อันนี้นั้น  มันก็เป็นหนทาง
ของฉันที่เที่ยงตรง  ดังนั้นพวกเจ้าจงดำเนินตามมัน  และอย่าได้เดินตามหนทางต่างๆแล้วมัน
จะพาให้พวกเจ้าแตกแยกออกไปจากหนทางของพระองค์  ที่ได้กล่าวมานี้  อัลลอฮฺได้ทรงสั่ง
สำทับพวกเจ้าไว้หวังว่าพวกเจ้าจะยำเกรง ' ' (อัลอันอาม ที่151ถึง153)
อิบนุ มัสอู๊ด  ได้กล่าวไว้ว่า
' ผู้ใดต้องการที่จะมองดูคำสั่งเสียของ  มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่บนนั้นมีรอย
ประทับของท่านอยู่  ก็ให้เขาได้อ่านคำตรัสของพระองค์ที่ว่า  (จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า 
พวกเจ้าจงมาซิ  ฉันจะอ่าน
สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าได้ทรงห้ามพวกเจ้าให้ฟัง  คือไม่ให้พวกเจ้าตั้งภาคีต่อพระองค์
แต่อย่างใด)ไปถึงคำตรัสของพระองค์ที่ว่า  ' และอันนั้น มันเป็นหนทางของฉัน  ที่เที่ยงตรง'
(อัลอันอาม ที่151ถึง153)
มีรายงานจากมุอ้าซ อิบนุ ญะลัลลฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
'  ฉันเคยซ้อนท่าน นบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  บนหลังลาตัวหนึ่ง  แล้วท่านได้กล่าว
แก่ฉันว่าโอ้ มุอ้าซ  ท่านทราบไหมว่า  สิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาบ่าว  คืออะไร  และ
สิทธิของบ่าวที่มีต่ออัลลอฮฺ
คืออะไร  ฉันกล่าวว่าอัลลอฮฺ  และร่อซูลของพระองค์รู้ดีที่สุด  ท่านกล่าวว่า  สิทธิของ
อัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาบ่าวนั้น  คือ  พวกเขาจะต้องเคารพภักดีต่อพระองค์  และไม่ตั้งภาคี
ต่อพระองค์แต่ประการใด  และสิทธิ
ของบรรดาบ่าวที่มีต่ออัลลอฮฺนั้น คือ  พระองค์จักต้องไม่ลงโทษผู้ที่ไม่ได้ตั้งภาคีต่อพระองค์
แต่อย่างใดฉันกล่าวว่า  โอ้  ร่อซูลของอัลลอฮฺ  แล้วฉันจะไปบอกข่าวดีแก่พวกเขาไม่ดีหรือ
  ท่านกล่าวว่าท่านอย่าไป
บอกเป็นข่าวดีแก่พวกเขา  เดี๋ยวพวกเขาจะอาศัยสิ่งนั้นเท่านั้น ' (บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม)
ในบทนี้มีประเด็นสำคัญต่างๆมากมายหลายประการด้วยกัน
ประการที่หนึ่ง'  ข้อคิดในการสร้างมนุษย์  และญินขึ้นมา
'ประการที่สอง'  ว่า  การเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)นั้น  คือ  การให้เอกภาพ(เตาหี๊ด)เพราะว่า
การทะเลาะกัน  การมีปัญหากัน  มันจะอยู่ในเรื่องนี้
'ประการที่สาม'  ว่า  ผู้ใดที่ไม่ได้นำมาซึ่งการให้เอกภาพ  ก็เท่ากับว่า  เขาไม่ได้เคารพภักดี
ต่ออัลลอฮฺพระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
' ' และพวกเจ้าไม่ได้เคารพภักดีต่อสิ่งที่ฉันเคารพภักดี ' ' (อัลกาฟิรูน ที่3)
'ประการที่สี่'  ข้อคิดในการส่งร่อซูลมา
'ประการที่ห้า'  ว่า  การส่งร่อซูลลงมานั้น  มีมายังทุกประชาชาติ
'ประการที่หก'  ว่า  ศาสนาของบรรดา นบีนั้น  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
'ประการที่เจ็ด'  ปัญหาใหญ่นั้น  คือว่า  การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺนั้น  จะเกิดขึ้นไม่ได้  นอกจากด้วย
การปฎิเสธต่อทุกสิ่งทุกอย่าง  ที่ถูกเคารพภักดี  นอกเหนือจากอัลลอฮฺเท่านั้น  พระองค์อัลลอฮฺได้
ตรัสไว้ว่า' ' ดังนั้น  ผู้ใดปฎิเสธต่อมารร้าย  และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ  ก็เท่ากับว่า  เขาได้จับมั่นอยู่
กับห่วงที่เหนียวแน่นที่สุด ' ' (อัลบะเกาะเราะฮฺ ที่236)
'ประการที่แปด'  ว่า  ฎอฆู้ดนั้นเป็นสิ่งที่คลุมไปทั่วถึงทุกสิ่งทุกอย่าง  ที่ถูกเคารพภักดี 
นอกเหนือจากอัลลอฮฺ
'ประการที่เก้า'  ความยิ่งใหญ่ของสามโองการที่มีความหมายรัดกุม  ในซูเราะฮฺ อัลอะฮฺร้อฟ
  ตามทัศนะของบรรดาผู้คนรุ่นก่อน(สะลัฟ)  และสามโองการดังกล่าวนั้น  มีปัญหาต่างๆอยู่สิบ
ปัญหาด้วยกันปัญหาแรกคือ  การห้ามไม่ให้ตั้งภาคี
'ประการที่สิบ'  โองการต่างๆในซูเราะฮฺอัลอิสร้ออฺนั้น  ซึ่งก็มีอยู่สิบแปดปัญหาด้วยกัน  อัลลอฮฺ
ได้ทรงเริ่มต้นด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
' ' และเจ้าอย่าทำให้มีขึ้นกับอัลลอฮฺซึ่งพระเจ้าองค์อื่น  แล้วเจ้าจะนั่งอย่างผู้ถูกตำหนิผู้ถูก
ทอดทิ้ง(อัลอิสร็ออฺ ที่22)  และพระองค์ได้ทรงลงท้ายด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
' ' และเจ้าอย่าได้ทำให้มีขึ้นกับอัลลอฮฺ  ซึ่งพระเจ้าองค์อื่น  แล้วเจ้าก็จะถูกโยนลงไปในนรก
อย่างผู้ถูกตำหนิผู้ถูกขับไล่ ' ' (อัลอิสร้ออฺ ที่39)  และพระองค์ทรงกระตุ้นเตือนเรา  ให้ได้ทราบ
ในเรื่องความยิ่งใหญ่ของปัญหา
ต่างๆเหล่านี้  ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า  ' ' ที่ได้กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า
ของเจ้าได้ทรงดลใจมายังเจ้า  จากความรอบรู้ ' '(อัลอิสร้อฮฺ ที่39)
'ประการที่สิบเอ็ด'  โองการของซูเราะฮฺ  อันนิซาอฺ  ที่ถูกเรียกว่า  โองการสิทธิหน้าที่ต่างๆ 
สิบประการ
ที่อัลลอฮฺได้ทรงเริ่มต้น  ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า
' ' และพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ  และอย่าได้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺแต่อย่างใดด้วย ' ' (อันนิซาอฺ ที่36)
'ประการที่สิบสอง'  การกระตุ้นเตือนให้รู้  ในคำสั่งเสียของร่อซูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ในขณะที่ท่านกำลังจะจากโลกนี้ไป
'ประการที่สิบสาม'  การรู้จักสิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อเรา
'ประการที่สิบสี่'  การรู้จักสิทธิของบรรดาบ่าวที่มีต่ออัลลอฮฺ  เมื่อเขาได้ปฎิบัติตามสิทธิของพระองค์
'ประการที่สิบห้า'  ว่า  ปัญหานี้สาวกส่วนมากไม่รู้
'ประการที่สิบหก'  การอนุญาตให้ปกปิดความรู้  เพื่อผลประโยชน์
'ประการที่สิบเจ็ด'  การชอบให้บอกข่าวแก่มุสลิม  ด้วยสิ่งที่จะนำมาให้แก่เขาซึ่งความปลาบปลื้ม
'ประการที่สิบแปด'  ความกลัวในเรื่องของการหันไปอาศัยความกว้างไพศาลของความเมตตา
ของอัลลอฮฺเพียงอย่างเดียว
'ประการที่สิบเก้า'  การพูดของผู้ที่ถูกถาม  เกี่ยวกับสิ่งที่เขาไม่รู้ว่า  อัลลอฮุ ว่ะร่อซูลุฮูอะอฺลัม
(อัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์รู้ดีที่สุด)
'ประการที่ยี่สิบเอ็ด'  การถ่อมเนื้อถ่อมตัวของท่าน ร่อซูล  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ในการขี่ลา
กับการให้ผู้อื่นซ้อนท้าย  บนหลังลา
'ประการที่ยี่สิบสอง'  การอนุญาตให้ซ้อนท้าย  บนสัตว์พาหนะ
'ประการที่ยี่สิบสาม'  ความประเสริฐของ มุอ้าซ อิบนุ ญะบัลลฺ
'ประการที่ยี่สิบสี่'  ความยิ่งใหญ่ของเรื่องราวของปัญหานี้

 
 
zunman [124.120.160.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง
' ' ความประเสริฐของการให้เอกภาพและสิ่งที่มันสามารถลบล้างให้ได้จากบาปต่างๆ ' '
อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
' ' ' บรรดาผู้ที่เขาได้ศรัทธา  และไม่ได้คละเคล้าการศรัทธาของเขาเข้ากับการอธรรม
เหล่านี้แหละ  สำหรับพวกเขานั้น  มีความปลอดภัยและพวกเขาอยู่ในทางนำด้วย ' ' '
(อัลอันอาม ที่82)
มีรายงานจากอุบาดะฮฺ อิบนุศซอมิ๊ต ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า
ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า
' ' ผู้ใดปฎิญาณว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น  ไม่มีภาคิใดๆ
สำหรับพระองค์  และมุฮัมมัดเป็นบ่าวของพระองค์  และทูตของพระองค์  และอีซาเป็น
บ่าวของอัลลอฮฺ  ทูตของพระองค์  และถ้อยคำของพระองค์  ที่พระองค์ได้ทรงส่งมายัง
มัรยัม  เป็นวิญญาณที่มาจากพระองค์  สวรรค์เป็นความจริง  และนรกเป็นความจริงแล้ว
อัลลอฮฺก็จะทรงให้เขาได้เข้าสวรรค์  ตามที่เขาเป็นอยู่จากการงาน ' ' (บุคอรีย์และมุสลิม)
เช่นเดียวกันเขาทั้งสอง ได้นำออกรายงานในหะดีษของอิ๊ตบานว่า
' ' แท้จริง  อัลลอฮฺได้ทรงหักห้ามผู้ที่กล่าวว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น
โดยมีความมุ่งมาดด้วยการกล่าวดังกล่าว  ซึ่งพระพักตร์แห่งอัลลอฮฺ ' '
มีรายงานจากอบูสะอี๊ด อัลคุดรีย์  จากท่าน นบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ว่าท่านได้
กล่าวไว้ว่า  มูซา(นบี)ได้กล่าวว่า
' ' โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของฉัน  ขอพระองค์ได้ทรงสอนแก่ฉันซึ่งสิ่งหนึ่ง  ที่ฉันจะใช้มันรำลึกถึง
พระองค์  และวิงวอนต่อพระองค์  พระองค์ตรัสว่า  โอ้ มูซา เจ้าจงกล่าวว่า  ไม่มีพระเจ้า
อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น  มูซากล่าวว่า โอ้  พระผู้เป็นเจ้าของฉัน  บรรดาบ่าวของพระ
องค์ทุกคนกล่าวอย่างนี้  พระองค์ตรัสว่า  โอ้ มูซา  หากว่าชั้นฟ้าต่างๆทั้งเจ็ดและผู้ที่อาศัย
อยู่ในนั้น  นอกเหนือจากฉัน  และพื้นแผ่นดินต่างๆทั้งเจ็ด  อยู่ในจานตาชั่งอีกข้างหนึ่ง  และ
คำว่า  ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ  อยู่ในจานตาชั่งอีกข้างหนึ่งแล้ว  คำว่า  ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ
ก็จะทำให้สิ่งต่างๆดังกล่าวทั้งหมดเอนเอียงได้' '
(อิบนุ หี๊บบาน และอัลฮากิม เป็นผู้รายงานและบอกว่า เป็นหะดีษศอเหี้ยหฺ)
มีรายงานของติรมิซีย์  และบอกว่าเป็นหะดีษหะซัน  จากอนัส กล่าวว่า
' ' ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า  อัลลอฮฺตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า
โอ้ ลูกหลานของอาดัม  หากเจ้าได้มาให้แก่ฉันขนาดพื้นแผ่นดินเต็มซึ่งบาปต่างๆหลังจากนั้น
เจ้าได้มาพบฉัน  โดยที่เจ้าไม่ได้ตั้งภาคีต่อฉันแต่อย่างใด  ฉันก็จะนำมาให้แก่เจ้าขนาดพื้นแผ่น
ดินเต็มเหมือนกันซึ่งการอภัยให้' '
ในบทนี้ประเด็นต่างๆมากมายหลายประการด้วยกัน
1 . ความกว้างไพศาลของความโปรดปราณของอัลลอฮฺ
2 . ความมากมายของผลบุญ  ในการให้เอกภาพ ณ อัลลอฮฺ
3 . พร้อมกันนั้นก็มีการลบล้างบาปต่างๆให้ด้วย
4 . การขยายความโองการที่ 82 ที่อยู่ในซูเราะฮฺอัลอันอาม
5 . การพิจารณาในประการต่างๆทั้งห้า  ที่มีอยู่ในหะดีษของอุบาดะฮฺ
6 . ว่า ท่านนั้นเมื่อได้รวมระหว่างสองหะดีษนี้  กับหะดีษที่ถัดไปแล้ว  ความหมายของคำพูดที่ว่า
ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ(ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น)  ก็จะเป็นที่กระจ่างชัดแก่ท่าน
เช่นเดียวกันความผิดพลาดของผู้ที่ถูกหลอกลวงทั้งหลายก็เป็นที่กระจ่างชัดแก่ท่านด้วย
7 . การกระตุ้นเตือนให้ดูเงื่อนไขที่มีอยู่ในหะดีษของอิ๊บบาน
8 . ความต้องการของบรรดา นบี  ในการกระตุ้นเตือนให้ดูความดีงามของคำว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ
9 . การกระตุ้นเตือนในความมีน้ำหนักมันเหนือสรรพสิ่งต่างๆทั้งมวล  พร้อมกันนั้นก็มีจำนวนไม่น้อย
จากบรรดาผู้ที่ได้กล่าวมัน  แต่ตาชั่งของเขาเบา
10 . การตราลงไปว่า  พื้นแผ่นดินนั้นมีอยู่เจ็ดชั้นด้วยกัน  เหมือนกับชั้นฟ้า
11 . ว่า  ในแจ่ละชั้นฟ้านั้น  มีบรรดาผู้อาศัยอยู่
12 . การนำเอาลักษณะต่างๆมาตีแผ่  ตรงกันข้ามกับพวกอัชอะรีย์
13 . ท่านนั้นเมื่อได้ทราบหะดีษของอนัสแล้ว  ก็ทราบว่าคำพูดของท่าน
นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ในหะดีษของอิ๊บบานที่ว่า
' ' แล้วแท้จริงอัลลอฮฺนั้นได้ทรงหักห้ามผู้ที่กล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ  โดยมีความมุ่งมาด
ด้วยการกล่าวดังกล่าวซึ่งพระพักตร์แห่งอัลลอฮฺ  ไม่ให้เขาได้เข้านรก ' ' นั้นว่า 
การละทิ้งการตั้งภาคีนั้น  ไมใช่
การพูดแต่ถ้อยคำดังกล่าวออกมาด้วยลิ้นอย่างเดียว
14 . การพิจารณาในเรื่องการรวมระหว่างการเป็นบ่าว  และการเป็นศาสนทูตของ อีซาและ
มุฮัมมัด
15 . การรู้จักในเรื่องของการเป็นกะลิมะตุลลอฮฺ(ถ้อยคำของอัลลอฮฺ)ของ อีซาแต่เพียงผู้เดียว
16 . การรู้จักในเรื่องว่าเขา(อีซา)เป็นวิญญาณที่มาจากอัลลอฮฺ
17 . การรู้จักในเรื่องความดีงามของการศรัทธา  ในสวรรค์และนรก
18 . การรู้จักในเรื่องของคำพูดของท่านที่ว่า(ตามที่เขาเป็นอยู่จากการงาน)
19 . การรู้จักในเรื่องว่า  ตาชั่งนั้นมีสองจานด้วยกัน
20 . การรู้จักในเรื่องของพระพักตร์
 
' ผู้ใดได้นำมาซึ่งการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺอย่างจริงจังแล้ว
  เขาได้เข้าสวรรค์ โดยไม่ต้องสอบสวน ' '
อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ว่า
' ' ' แท้จริงอิบรอฮีมนั้น  เป็นผู้ที่มีแบบอย่างที่ดี  เป็นผู้ที่ดำรงมั่นอยู่ในการเชื่อฟังอัลลอฮฺ
เป็นผู้มุ่งสู่พระองค์องค์เดียว  และเขาไม่ได้เป็นผู้ตั้งภาคีแต่อย่างใดเลย ' ' ' (อันนะหลฺ ที่120)
' ' ' และบรรดาผู้ที่พวกเขาไม่ได้ตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขา ' ' '(อัลมุอฺมินูน ที่59)
มีรายงานจากหุศอยนฺ อิบนุ อับดิ๊รเราะฮฺมาน  กล่าวว่า
' ' ฉันได้ไปอยู่ที่สะอี๊ด อิบนุ ญุบัยรฺ  แล้วเขากล่าวว่า  ใครเห็นดวงดาว  ที่ตกเมื่อคืนนี้บ้าง
ฉันก็กล่าวว่า  ฉันเห็น  หลังจากนั้นฉันกล่าวว่า  ส่วนฉันนั้นก็ไม่ได้อยู่ในละมาด  แต่ทว่า
ฉันถูกสัตว์ต่อย  เขากล่าวว่า  แล้วท่านทำอะไร  ฉันกล่าวว่า  ฉันได้ทำการปัดเป่า  เขากล่าวว่า
อะไรที่ทำให้ท่านต้องทำเช่นนั้น  ฉันกล่าวว่า  หะดีษที่อัชชะอฺบีย์ได้เล่าให้เราฟัง  เขากล่าวว่า
แล้วเขาได้เล่าอะไรให้ท่านทั้งหลายฟัง  ฉันกล่าวว่า  เขาได้เล่าให้เราฟังจากบุรอยดะฮฺ อิบนุส
หุศ้อยบฺว่า  ไม่มีการปัดเป่านอกจากเนื่องจากตา  และพิษสัตว์เท่านั้น  เขากล่าวว่าเขาได้ทำดีแล้ว
ผู้ที่ลงเอยไปตามสิ่งที่เขาได้ยินมา  แต่ทว่าอิบนุอับบาส  ได้เล่าให้เราฟังจากท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิวะซัลลัม  ว่าท่านนั้นได้กล่าวไว้ว่า  'ประชาชาติต่างๆได้ถูกนำมาให้ฉันดู  แล้วฉันเห็น นบี
มีหมู่คณะอยู่กับเขา นบีมีคนหนึ่งคน  สองคนอยู่กับเขาและนบีบางคนไม่มีใครอยู่กับเขาเลย
ในขณะนั้นเองก็มีฝูงชนมือฟ้ามัวดินถูกยกมาให้ฉันได้ดู  ฉันก็เข้าใจไปว่า  พวกเขาเป็นประชาชาติ
ของฉัน  มีบางคนกล่าวแก่ฉันว่า  นี่เป็นมูซาและหมู่คณะของเขา  แล้วฉันได้มองไป  เมื่อนั้นเองก็มี
ฝูงชนมือฟ้ามัวดิน  มีคนกล่าวแก่ฉันว่า  นี่เป็นประชาชาติของท่าน  มีผู้คนจำนวน 70000คนอยู่กับ
พวกเขา  ที่จะได้เข้าสวรรค์โดยที่ไม่มีการสอบสวน  ไม่มีการลงโทษใดๆ  หลังจากนั้นท่านได้ลุกขึ้น
และเข้าไปในบ้านของท่าน  แล้วผู้คนทั้งหลายก็พูดกันไปต่างๆนาๆ  ในพวกผู้คนเหล่านั้นบางคน
กล่าวว่าคาดว่าพวกเขาเหล่านั้นคงจะเป็นพวกที่เป็นสาวกของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย
ฮิวะซัลลัม  และบางคนกล่าวว่า  คาดว่าพวกเขาคงจะเป็นบรรดาผู้เกิดมาในอิสลามแล้วไม่ได้ตั้งภาคี
ต่ออัลลอฮฺแต่ประการใด  พวกเขาพูดกันไปหลายเรื่องหลายราว  แล้วท่านรอซูลได้ออกมายังพวกเขา
และพวกเขาได้บอกแก่ท่านถึงเรื่องราวต่างๆเหล่านั้น  ท่านก็กล่าวว่า  พวกเขาคือบรรดาผู้ที่ไม่ได้ทำ
การปัดเป่า  ไม่ได้นาบริดด้วยไฟ  ไม่ได้เชื่อในเรื่องเครื่องลางและพวกเขามอบหมายต่อพระผู้เป็นเจ้า
ของพวกเขา  แล้วอุกกาชะอฺ อิบนุ เมื๊ยะหฺศ็อนได้ลุกขึ้นยืน  และกล่าวว่า  ขอให้ท่านขอดุอาอฺ
ต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ได้ทรงให้ฉันเป็นคนหนึ่งจากพวกเขาด้วย  ท่านกล่าวว่า  ท่านเป็นคนหนึ่ง
จากพวกเขาหลังจากนั้นมีชายอีกคนหนึ่งลุกขึ้นยืน  แล้วกล่าวว่า  ขอให้ท่านได้ขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ
  ให้พระองค์ได้ทรง
ให้ฉันเป็นคนหนึ่งจากพวกเขาด้วย  ท่านกล่าวว่า  อุกกาชะฮฺได้ชิงมันไปครองก่อนท่านแล้ว ' '
ในบทนี้มีประเด็นต่างๆมากมายหลายประการด้วยกัน
1 . การรู้จักขั้นต่างๆของพวกผู้คนทั้งหลาย  ในเรื่องของการให้เอกภาพ
2 . ความหมายของการนำมาซึ่งการให้เอกภาพอย่างจริงจังนั้น  คืออะไร
3 . การกล่าวชมของพระองค์อัลลอฮฺ  ที่มีต่อนบีอิบรอฮีม  ด้วยการที่ท่านไม่ได้เป็นผู้ตั้งภาคีแต่
อย่างใด
4 . การกล่าวชมของพระองค์ที่มีต่อบุคคลสำคัญๆ  ของบรรดา วลีย์  ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
จากพวกเขา  จากการตั้งภาคี
5 . การละทิ้งการปัดเป่าและการนาบรีดด้วยไฟ  อยู่ในการนำมาซึ่งการให้เอกภาพอย่างจริงจัง
6 . สิ่งที่ประมวลเอาประการต่างๆเหล่านั้นไว้  คือ  การมอบหมาย
 

 
 
zunman [124.120.160.xxx] เมื่อ 15/09/2013 19:47
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :